9.3 ประเภทของความรู้
ความรู้ยังสามารถจำแนกออกเป็น 2
ประเภทด้วยกันคือ
1. ความรู้โดยนัย (Tacit
Knowledge)
เป็นความรู้แบบฝังลึกที่ซ่อนเร้นอยู่เฉพาะตัวบุคคล
มีความซับซ้อน ไม่สามารถนำมาจัดระบบให้มีความชัดเจนแน่นอนได้ เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาซึ่งประกอบด้วย
ความเชื่อ ค่านิยม ประสบการณ์ ความชำนาญ
ไหวพริบ ความลับ และทักษะความรู้เฉพาะตัวของบุคคลผู้นั้น
และเนื่องจากความรู้ประเภทนี้มีความเป็นนามธรรมสูง
จึงยากต่อการถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษร
2. ความรู้แบบชัดแจ้ง (ExplicitKnowledge)
เป็นความรู้ที่มีความเป็นรูปธรรม
เป็นวิทยาการที่สามารถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบของสื่อต่างๆ ได้อย่างมากมาย เป็นองค์ความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุผล
ถ่ายทอดได้
สามารถจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ในรูปแบบของข้อมูล นโยบาย
วิธีการ กลยุทธ์ ซอฟต์แวร์
หนังสือ คู่มือ เอกสาร
และสื่อประเภทอื่นๆ
นิยามความรู้ในลักษณะต่างๆ
ที่เกี่ยวกับความรู้เชิงรูปธรรมที่ลดหลั่นลงมาสู่ความรู้เชิงนามธรรม หรือที่เรียกชื่อย่อกันว่า ASHEN โดยแต่ละตัวมีความหมายว่า
-
Artefactsเป็นความรู้ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
เอกสาร หนังสือ ถือเป็นความรู้ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
-
Skill เป็นทักษะ
ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการนำไปประกอบการใช้งานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ
-
Heuristics เป็นความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้มามากพอ จนมีความเชี่ยวชาญสูง
เริ่มมีความยากต่อการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยน เนื่องจากเป็นเรื่องของเฉพาะตัวบุคคล
Natural
Talent เป็นพรสวรรค์ที่ฝังอยู่ในเฉพาะตัวบุคคล ยากต่อการถ่ายทอด
มีความเป็นนามธรรมสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น