วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 11 เรื่องที่ 2 การวางแผนเพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน

11.2  การวางแผนเพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน
                การวางแผนเพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน  จัดเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง  โดยเฉพาะสังเวียนการแข่งขันในธุรกิจปัจจุบัน  และสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศอันซับซ้อน  ดังนั้นกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือวางแผนทางไอที จึงนำไปสู่การประเมินศักยภาพและความเสี่ยงขององค์กร ที่จะต้องเผชิญหน้าเมื่อมีการใช้กลยุทธ์พื้นฐานทางไอทีและเทคโนโลยี  เพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน  โดยในบทที่  ที่ผ่านมาเราได้ศึกษาถึงแรงกดดันในการแข่งขัน  (ประกอบด้วยการชิงชัยระหว่างคู่แข่งขัน ภัยคุกคามจากผู้ค้ารายใหม่  ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน  อำนาจการต่อรองของลูกค้า  และอำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต) และการวางแผนกลยุทธ์เพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน (ประกอบด้วยกลยุทธ์พื้นฐาน  5  ประการ  เช่น  ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน  ด้านความแตกต่าง  ด้านนวัตกรรม  การเติบโต  และการเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจ)  ทำนองเดียวกันกับแบบจำลองโซ่คุณค่าของกิจกรรมพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งแบบจำลองเหล่านี้สามารถนำมาใช้กับกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์  เพื่อช่วยสร้างความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับอีบิสซิเนส หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
                การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและไอที  มักนิยมใช้แมทริกซ์โอกาสทางกลยุทธ์  (Strategic Opportunities Matrix)  ที่ช่วยประเมินศักยภาพของกลยุทธ์ทางธุรกิจและโอกาสทางไอที  ทำนองเดียวกันกับการประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนที่น่าจะเป็นไปได้
แมทิกซ์โอกาสทางกลยุทธ์ ที่ช่วยประเมินถึงความเสี่ยง ศักยภาพการจ่ายคืน และโอกาสทางไอที


                การวิเคราะห์  SWOT  (SWOT  Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์  ถึงผลกระทบในแต่ละความเป็นไปได้ของโอกาสทางกลยุทธ์ที่สามารถมีในองค์กรรวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้วยการกำหนดจุดแข็ง  (Strengths)  และจุดอ่อน  (Weaknesses)  ซึ่งเป็นปัจจัยจากภายในองค์กรเอง  รวมถึงโอกาส  (Opportunities)  และอุปสรรค  (Threats)  ซึ่งเป็นปัจจัยจากภายนอก
                จุดแข็ง  ขององค์กรคือ  ความสามารถหลัก  (Core Competencies)  และทรัพยากรที่จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในตลาด  หรือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ  จุดอ่อน  คือการปฏิบัติงานทางธุรกิจในบางส่วนขององค์กรที่ต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อถูกนำมาเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือเทียบกับในตลาดเดียวกัน ในขณะที่ โอกาส ก็คือศักยภาพสำหรับตลาดธุรกิจใหม่ หรือนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้าล้ำสมัย ที่สามารถนำมาใช้เพื่อขยายตลาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยโอกาสจะเป็นเงื่อนไขจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อจุดแข็ง  ส่วน  อุปสรรค  ก็คือศักยภาพของคู่แข่งขัน ที่ส่งผลต่อความสูญเสียทางการตลาดในธุรกิจของเรา และรวมถึงแรงกดดันทางการแข่งขันในด้านอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ  และเทคโนโลยีใหม่ๆ  ที่เข้ามาทำลายล้างสิ่งเดิมที่เคยเป็นอยู่  โดยอุปสรรคจะเป็นเงื่อนไขจากสภาพแวดล้อมภายนอก  ที่ส่งผลกระทบต่อจุดอ่อนของเรา


                ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT สามารถมาจากปัญหาทางกาตลาด การวิเคราะห์คู่แข่งขัน โดยนักการตลาดจะกำหนดคู่แข่งขันแต่ละรายที่มีอยู่ในตลาด ด้วยการมุ่งประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนและจุดแข็ง ผู้จัดการฝ่ายการตลาดจะมีการตรวจสอบโครงสร้างต้นทุนของคู่แข่งขันแต่ละรายแหล่งที่มาของรายได้  ทรัพยากรและความสามารถหลัก  ตำแหน่งทางการแข่งขัน  และความแตกแต่งของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงระดับการเป็นเจ้าของ หรือการกุมทุกอย่างอยู่ในมือ  (Vertical Integration) ของคู่แข่งขันว่ามีมากน้อยเพียงไร และผลตอบรับในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม  รวมถึงปัจจัยอื่นๆ
                ผู้จัดการฝ่ายการตลาดจำเป็นต้องลงทุนวิจัยตลาดเพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น ในทำนองเดียวกันกับการวิจัยตลาดเพื่อนำไปสู่การบรรลุในสารสนเทศนั้น  และถึงแม้ว่านักการตลาดจะสามารถนำเทคนิคต่างๆ  มาใช้อย่างมากมาย  แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้วิธีการต่อไปนี้
-                   การวิจัยการตลาดเชิงคุณภาพ  เช่น  การมุ่งเฉพาะไปยังกลุ่มตัวอย่าง
-                   การวิจัยการตลาดเชิงปริมาณ  เช่น  การสำรวจทางสถิติ
-                   เทคนิคการทดลอง  เช่น  การทดสอบตลาด
-                   เทคนิคการสังเกตการณ์  เช่น  การสังเกตจากชาติพันธ์ในแต่ละพื้นที่
-                   ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาจทำการออกแบบและคอยตรวจตราและดูสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่หลากหลาย  การนำกระบวนการอันชาญฉลาดมาใช้กับการแข่งขัน  จะช่วยบ่งชี้ถึงแนวโน้มและความรอบรู้ในการวิเคราะห์ตลาดขององค์กร
                และต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์  SWOT  ของโรงพิมพ์แห่งหนึ่ง


Strengths
1.        ความมีชื่อเสียง
2.        มีลูกค้าประจำ
3.        มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญสูง
Weaknesses
1.        มีเงินลงทุนหมุนเวียนจำกัด
2.        เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว
3.        รองรับงานในปริมาณจำกัด เนื่องจากมีเครื่องจักรเพียง  เครื่อง
Opportunities
1.        รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจ ขนาดย่อม
2.        มีสถาบันกวดวิชาที่กำลังเปิดใหม่อยู่บริเวณใกล้เคียง
Threats
1.        มีโรงพิมพ์ตั้งขึ้นใหม่เพิ่มขึ้น  และมีการตัดราคากันเอง
2.        รัฐบาลเพิ่มภาษีนำเข้ากระดาษ  ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต
ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ของธุรกิจโรงพิมพ์แห่งหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น