วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 9 เรื่องที่ 2 คุณสมบัติของความรู้

9.2  คุณสมบัติของความรู้
                รายละเอียดต่อไปนี้จะแสดงถึงคุณสมบัติของความรู้ที่ต้องการสะท้อนให้เห็นว่า ความรู้นั้นมีความแตกต่างไปจากทรัพย์สินต่างๆ  ขององค์กรอย่างไร
                1.  มีความพิเศษและมีผลตอบแทนที่เพิ่มพูน ปกติแล้ว ความรู้จะไม่มีเรื่องของผลตอบแทนที่ลดน้อยลง อีกทั้งเมื่อความรู้ถูกนำไปใช้  ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง  แต่ในทางกลับกันยิ่งใช้มากเท่าใด  กลับเพิ่มคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น
                2.แบ่งออกเป็นส่วนได้ รั่วไหลได้ และต้องปรับให้ทันยุคสมัย เมื่อความรู้ได้เจริญเติบโตจะสามารถจัดแบ่งออกเป็นสาขาย่อยๆ และแบ่งออกเป็นส่วนได้ ความรู้เป็นพลวัต (Dynamic) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ความรู้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องปรับความรู้ให้ทันยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อปูพื้นฐานไปสู่การบำรุงรักษาให้คงไว้ และเป็นแหล่งความรู้ที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อเชิงความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน
                3. ยากต่อการประเมินหรือตีราคาเป็นมูลค่า เป็นสิ่งที่ยากทีเดียว สำหรับการประมาณด้านการลงทุนของความรู้  เนื่องจากมีปัจจัยอยู่มากมายที่ทำให้ความรู้ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้  เพราะความรู้จับต้องไม่ได้  ทำให้ตีมูลค่าได้ยาก
                4. มีมูลค่าไม่แน่นอนในเรื่องของการแบ่งปัน เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่ยากต่อการประมาณการว่า มูลค่าของความรู้ที่ได้แบ่งปันหรือเผยแพร่ออกไปนั้น ใครๆ ก็จะได้รับประโยชน์เท่ากัน หรือมากกว่ากันอย่างไร
                5.  เกี่ยวพันกับเวลา  ประโยชน์และความเป็นเหตุเป็นผลของความรู้ อาจผันแปรได้ตามกาลเวลา ตัวอย่างเช่น  เวลาทำให้คนชราภาพได้  เวลาทำให้สิ่งของเน่าเสียหรือระเหยได้  ดังนั้นความรู้ก็เช่นเดียวกัน

                นอกจากนี้  ความรู้ยังสามารถนำไปสู่การผลิตผลงานที่เป็นเลิศในสาขาต่างๆ และถูกนำมาใช้เป็นทุนทางปัญญา  (Intellectual Capital ) ที่ช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าทางการเงินให้แก่องค์กรได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น