วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 9 เรื่องที่ 1 ความหมายของความรู้และการจัดการความรู้

9.ความหมายของความรู้และการจัดการความรู้
                แก่นแท้ในระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) องค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม ล้วนเกิดจากแนวคิดการจัดการความรู้ทั้งสิ้น ในขณะเดียวกัน ความสำเร็จของผู้บริหารก็ล้วนมาจากการใช้ความรู้เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรให้เกิดคุณค่า อย่างไรก็ตาม การจัดการความรู้มิใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด และถึงแม้ว่าองค์กรจะมีความรู้ต่างๆ จำนวนมากมาย แต่หากมิได้นำความรู้ที่มีอยู่จัดเก็บไว้อย่างมีระบบย่อมไม่มั่นใจได้ว่า ความรู้เหล่านั้นจะสามารถูกนำไปแบ่งปันหรือเผยแพร่ใช้งาน เพื่อนำไปสู่การก่อประโยชน์สูงสุดให้แก่องค์กรได้
                ความรู้ (Knowledge)คือบทสรุปของความเข้าใจที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งกว่าจะเกิดเป็นความรู้ขึ้นมาได้  จำเป็นต้องได้รับการค้นหา  พิสูจน์ความจริง  หรือทดลองมาแล้ว  ความรู้ความสามารถูกตั้งเป็นกฎขึ้นมาเพื่อนำไปใช้กำหนดเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน  ความรู้ทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง  มีเหตุมีผล  ดังนั้นความรู้จึงสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาประกอบการตัดสินใจได้
                การจัดการความรู้ (Knowledge Management)เป็นการนำความรู้ที่อยู่กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ (ความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น อาจฝังอยู่ทั่วไปภายในองค์กรหรือแม้แต่ตัวพนักงานเอง) มาจัดการอย่างมีระบบ  นำไปสู่เป้าหมายและพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป
                ความรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำขององค์กร ที่ปกติมักอยู่เคียงข้างคู่กับองค์กรในรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้างอย่างชัดเจน  ดังตัวอย่างเช่น         
-                   การนำความรู้มาช่วยแก้ไขปัญหาย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมา
-                   การมีความรู้อยู่ในตัว  ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  รอบตัวได้อย่างรวดเร็ว
-                   การนำความรู้มาใช้เพื่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
-                   การนำความรู้มาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
                สำหรับในบริบททางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้จะมีความหมายที่แตกต่างไปจากข้อมูลและสารสนเทศมาก โดยที่ข้อมูล (Data) เป็นการรวบรวมเกี่ยวกับข้อมูลดิบ และข้อเท็จจริงต่างๆ จากการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว หรือกำลังจะเกิดขึ้น ส่วน สารสนเทศ (Information) เป็นการนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผล หรือคำนวณทางสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่สามารถนำมาสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในช่วงเวลาหนึ่งๆ ได้ ในขณะที่ความรู้ (Knowledge) ก็คือสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นบทสรุปของความเข้าใจตามหัวข้อนั้นๆ  ที่มีความสอดคล้องและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

                ตัวอย่างเช่น
-    รถยนต์คันนี้เติมน้ำมันได้สูงสุด  55  ลิตร  สิ่งเหล่านี้ถือเป็น  “ข้อมูล”
              -   การขับรถลงเนินเขา  โดยเฉพาะเขาที่มีความชันสูง  ไม่ควรใช้เกียร์ว่าง  เพราะจะทำให้รถวิ่งแล่นด้วยความเร็วสูงตามแรงโน้มถ่วง  ซึ่งอันตรายมาก  ดังนั้นวิธีการขับรถลงเนินเขาที่ถูกต้อง  จึงควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อให้เกิดแรงฉุดจากเครื่องยนต์  ป้องกันการเลี้ยงเบรกที่ส่งผลต่อผ้าเบรกใหม่ได้  สิ่งเหล่านี้ถือเป็น  “ความรู้”  ที่นักขับทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น