วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 เรื่องที่ 3 การพัฒนาฐานข้อมูล

4.3  การพัฒนาฐานข้อมูล
                ชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับงานจัดการฐานข้อมูลอย่าง MS – Access  หรือ  Lotus Approach นั้น อนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถสร้างข้อมูลตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดายด้วยตัวช่วย วิซาร์ด(Wizard) แต่อย่างไรก็ตาม ในองค์กรขนาดใหญ่ หน้าที่การดูแลและบริหารระบบฐานข้อมูลจะมอบหมายให้กับผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrators : DBA) และรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและควบคุมระบบฐานข้อมูลในองค์กร เนื่องจากองค์กรจะมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ประกอบกับข้อมูลที่ต้องบันทึกในแต่ละวันมีจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารฐานข้อมูลจึงต้องมีบทบาทสำคัญต่อการดูแลความถูกต้อง และความปลอดภัยของฐานข้อมูล เพื่อให้งานบริการข้อมูลขององค์กรสามารถดำเนินการได้ตามปกติในแต่ละวัน และหากเกิดข้อผิดพลาดในฐานข้อมูลขึ้น ก็จะมีกระบวนการกู้คืน การสำรองข้อมูล นอกจากนี้ผู้บริหารฐานข้อมูลจะต้องประเมินการใช้งานฐานข้อมูลในองค์กร ความเสี่ยง  และวางแผนเพื่อรองรับอัตราการเติบโตของฐานข้อมูลในอนาคตด้วย
การสร้างฐานข้อมู,ด้วยตัวชั่วสร้างตาราง(Table wiizard) ใน MS Access
นักพัฒนาฐานข้อมูลจะใช้ซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems : DBMS) ในการจัดการกับฐานข้อมูล ด้วยการใช้งานผ่านชุดคำสั่งภาษา SQL (Structured Query Language) ทั้งนี้ SQL ยังประกอบด้วย ภาษานิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) ที่นำมาใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้างตาราง แก้ไขตาราง ลบตาราง การกำหนดโครงสร้างข้อมูลว่าประกอบด้วยแอตตริบิวต์ใดบ้าบ มีชนิดข้อมูลเป็นชนิดใด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในฐานข้อมูล การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตาราง และการจัดทำพจนานุกรมข้อมูล เป็นต้น โดยพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) นั้น จะนำมาใช้อธิบายข้อมูลหรือที่เรียกว่า Metadata ที่เป็นข้อมูลของข้อมูลนั่นเอง ซึ่งโดยปกติพจนานุกรมข้อมูลจะประกอบด้วยรายละเอียดของแอตตริบิวต์  ชนิดข้อมูล  และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารฐานข้อมูล ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลในอนาคต  นอกจากนี้  SQL  ยังมี  ภาษาจัดการข้อมูล  (Data Manipulation : DML) ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มคำสั่งต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อสอบถามหรือคิวรี (Query) ข้อมูลจากฐานข้อมูลขึ้นมาใช้งาน รวมถึงการเพิ่มข้อมูลในตาราง การอัปเดตข้อมูลในตาราง และการลบข้อมูลในตาราง เป็นต้น ตัวอย่างซอฟต์แวร์ DBMS ที่นำมาใช้เพื่อจัดการฐานข้อมูล เช่น MS – Access , Oracle , MySQL  และ  DB2  เป็นต้น
ตัวอย่างชุดคำสั่งภาษานิยามข้อมูล (DOL) ที่นำมาใช้เพื่อกำหนดสิทธิ์การใช้งาน และสร้างตาราง
ตัวอย่างชุดคำสั่งภาษาจัดการข้อมูล (DML) ที่นำมาใช้เพื่อคิวรีข้อมูล

กระบวนการสำคัญของการพัฒนาฐานข้อมูลคือ การออกแบบฐานข้อมูล โดยก่อนที่จะดำเนินการออกแบบฐานข้อมูล จะต้องผ่านกระบวนการวางแผนข้อมูล (Data Planning Process) มาก่อน ด้วยการพัฒนาแบบจำลองกระบวนการธุรกิจตามส่วนงานต่างๆ ขึ้นมาในรูปแบบของเอกสาร เพื่อให้ทราบถึงเส้นทางการไหลของข้อมูลและเอกสารไปตามส่วนงานต่างๆ ต่อมาผู้บริหารฐานข้อมูลและนักออกแบบฐานข้อมูลก็จะทำงานร่วมกันกับผู้ใช้ เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหา กำหนดขอบเขต และกระบวนการธุรกิจ จากนั้นก็ระบุความต้องการทางสารสนเทศลงไปในข้อกำหนด และพัฒนาแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงแนวคิดขึ้นมา ที่เรียกว่า แผนภาพอีอาร์(Entity Relationship Diagrams : ERD) ซึ่งเป็นแบบจำลองที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ โดยแต่ละเอ็นทิตี้ก็จะมีแอตติริบิวต์ และมีการเชื่อมโยงระหว่างเอ็นทิตี้ด้วยกันผ่านแอตตริบิวต์ที่ระบุเป็นคีย์ สำหรับจุดประสงค์ของอีอาร์ไดอะแกรมก็คือ เป็นแผนภาพที่นำมาใช้เป็นตัวกลางสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้งาน

                 ครั้นเมื่อได้ดำเนินการออกแบบแผนภาพอีอาร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเป็นที่ยอมรับ ก็จะคัดเลือกซอฟต์แวร์ DBMS ที่นำมาใช้จัดการกับฐานข้อมูล เพื่อนำไปสู่การออกแบบฐานข้อมูลเขิงตรรกะ ด้วยการแปลงแผนภาพอีอาร์ให้มาเป็นรีเลชั่นหรือตาราง เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจ โดยตารางข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมไว้ภายในฐานข้อมูลชุดเดียวกัน
ขั้นตอนการพัฒนาฐานข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น