วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 8 เรื่องที่ 1 โซ่อุปทาน(Supply Chain)

8.1  โซ่อุปทาน(Supply Chain)
                ความจริงแล้ว  โซ่อุปทานมิใช่เป็นสิ่งใหม่  แต่ได้ถูกวิวัฒนาการมาจากแนวคิดพื้นฐานที่มีอยู่เดิม และนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทบาทตามกิจกรรมต่างๆ ที่ขับเคลื่อนอยู่ภายในห่วงโซ่ และด้วยการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน ผู้ผลิตคงไม่สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้ทั้งหมดเหมือนเช่นแต่ก่อน แต่จะมุ่งเน้นถึงความถนัดทางธุรกิจของตนเป็นหลักสำคัญ อีกทั้งยังไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว  ดังนั้นภายในห่วงโซ่นี้เอง  จึงมีบริษัทหรือธุรกิจหลายหน่วยด้วยกัน  ที่ควรเป็นคู่ค้าทางธุรกิจที่ดี  ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันในการจัดหาปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต้องใช้ต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตร่วมกันนั่นเอง
                โซ่อุปทาน(Supply Chain) เป็นคำนิยามถึงกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายปัจจัยการผลิต (Suppliers), ผู้ผลิต (Manufactures), ผู้จัดจำหน่าย (Distributors) และร้านค้าปลีก (Retailers) โดยจะอำนวยความสะดวกตั้งแต่การแปลงรูปวัตถุดิบจนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย กิจกรรมทางธุรกิจในทุกๆ ด้านของโซ่อุปทานจะมีการประสานงานและโต้ตอบกันระหว่างผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย  คลังสินค้า  และลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการการไหลเวียนของวัตถุดิบ  สารสนเทศ  เงิน  แลการบริการต่างๆ จากผู้ขายปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบผ่านเข้ามายังโรงงานและคลังสินค้า  จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย

                ถึงแม้ว่าโซ่อุปทานจะประกอบไปด้วยบทบาทต่างๆที่มาจากหลายบริษัทหรือหลายหน่วยธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกันก็ตาม แต่เป้าหมายภายในห่วงโซ่จะมีเพียงมุมมองเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคือ การผลิตสินค้าหรือบริการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ลดต้นทุน เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้ามากที่สุด โดยมีหลักการว่า  ประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าหรือบริการจะเกิดขึ้นได้นั้น  ย่อมเกี่ยวข้องกับทุกๆ  หน่วยงานตลอดทั้งสายของห่วงโซ่  ดังนั้นด้วยแนวคิดดังกล่าว  จึงมีการบูรณาการทุกๆ  หน่วยงาน  ตลอดทั้งสายของห่วงโซ่  ดังนั้นด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงมีการบูรณาการทุกๆ  หน่วยเข้าเป็นหนึ่งเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น