วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 5 เรื่องที่ 1 ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย

5.1  ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
                เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ต่อการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม ไปสู่การดำเนินธุรกิจที่สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ทั่วโลกผ่านระบบเครือข่าย ที่นอกจากนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการสื่อสารภายในองค์กรแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงการทำธุรกิจระหว่างองค์กรกับบริษัทคู่ค้าในระดับสากลได้ถึงกันทั่วโลก โดยอินเทอร์เน็ต เว็บ รวมถึงอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ต่างก็เป็นเครือข่ายที่สามารถนำมาผนวกเข้ากับกระบวนการธุรกิจ ที่องค์กรสามารถนำมาใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าของตน การติดต่อกับผู้ขายปัจจัยการผลิต และบริษัทคู่ค้าอื่นๆ  ดังนั้น คณะทำงานในองค์กรจึงพร้อมที่จะร่วมมือกันสรรค์สร้างชิ้นงานใหม่ๆ และจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้การปฏิบัติงานทางธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันเพื่อชิงชัยกับคู่แข่ง  ภายใต้สภาวการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

                คุณลักษณะสำคัญของการสื่อสารโทรคมนาคมคือ ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Speed) ที่สามารถประเมินได้จากความจุข้อมูลที่ส่งผ่านสื่อกลางในระบบสื่อสาร หรือที่เรียกว่า แบนด์วิดธ์(Bandwidth) ซึ่งปกติจะมีหน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที (Bit per second : bps) กิโลบิตต่อวินาที (Kilobit per second : Kbps) เมกะบิตต่อวินาที (Megabits per second : Mbps) กิกะบิตต่อวินาที (Gigabit per second : Gbps) และเทราบิตต่อวินาที (Terabit per second : Tbps) ซึ่งเป็นไปดังต่อไปนี้

หน่วยวัด
จำนวนข้อมูล  (โดยประมาณ)
bps
บิตต่อวินาที
Kbps
หนึ่งพันบิตต่อวินาที
Mbps
หนึ่งล้านบิตต่อวินาที
Gbps
หนึ่งพันล้านบิตต่อวินาที
Tbps
หนึ่งล้านล้านบิตต่อวินาที
หน่วยประเมินความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลหรือแบนด์วิดธ์

                สำหรับในแง่มุมของระบบธุรกิจแล้ว  เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม  ช่วยให้การทำงานร่วมกันของทีมงานภายในองค์กร  สามารถสื่อสารร่วมกันได้  แม้ว่าจะอยู่คนละที่ก็ตาม  ขณะเดียวกัน  ก็จะช่วยลดเวลาในการส่งผ่านข้อมูล  ทำให้การขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ  สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็วทันเวลาต่อการใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น