1.3 ความหมายของระบบ
ระบบสารสนเทศ
เกิดจากการนำคำว่า ระบบ และคำว่า สารสนเทศ มารวมกัน
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า
ทำไมสารสนเทศจึงต้องทำงานเป็นระบบ
จึงสมควรทำความเข้าใจกับความหมายของระบบเสียก่อน
ปกติคำว่า
ระบบ มักถูกนำมาเรียกใช้งานอยู่บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น
ได้มีการนำระบบมาควบคุมการทำงานของพนักงานในองค์กร
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น
ความหมายของระบบก็เพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน อย่างไรก็ตาม
ระบบที่ดีจำเป็นต้องมีส่วนประกอบของระบบหรือที่เรียกว่า ระบบย่อย (Subsystem)
ที่มีความสมบูรณ์ในตัว และมีระบบประสานการทำงานระหว่างระบบย่อยที่ดี
เพื่อนำไปสู่ภาพใหญ่ของระบบที่สามารถทำงานได้บรรลุผล ตัวอย่างเช่น
ระบบร่างกายของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ มากมาย เช่น ระบบสมอง
ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร
และระบบขับถ่าย
ดังนั้นระบบและระบบย่อยจึงมีความสัมพันธ์กันตามข้อสรุปดังต่อไปนี้
-
ระบบอาจมีมากกว่าหนึ่งเป้าหมายได้
-
ระบบอาจมีระบบย่อยต่างๆ ได้
-
ระบบย่อยจะเป็นส่วนประกอบของระบบใหญ่
-
ระบบย่อยจะมีเป้าหมายรอง ที่นำมาใช้สนับสนุนเป้าหมายหลัก
-
ระบบย่อยสามารถรับข้อมูลและถ่ายโอนผลลัพธ์ไปสู่ระบบย่อยอื่นๆ
ได้
ระบบบัญชีของบริษัท xyz ที่ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ คือ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบบัญชี
แยกประเภท และระบบบัญชีลูกหนี้ ซึ้งทั้ง 3 ระบบ ต่างสนับสนุนระบบบัญชีของบริษัทในภาพรวม
นอกจากนี้ ระบบยังสามารถเป็นได้ทั้ง
ระบบปิด (Closed System) หรือระบบเปิด (Open System) ซึ่งขึ้นอยู่กับความเป็นธรรมชาติของระบบนั้นๆ เป็นสำคัญ
ระบบปิดจะเป็นระบบที่โดดเดี่ยว ไม่มีการติดต่อไปยังระบบอื่นๆ
อีกทั้งยังไม่มีการใช้ข้อมูลร่วมกับระบบอื่นใดๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น
ระบบพิมพ์เช็คสั่งจ่าย จัดเป็นระบบเล็กๆ ระบบหนึ่ง
ที่จะดำเนินการได้ต่อเมื่อพนักงานได้กรอกข้อมูลโดยตรงผ่านทางคีย์บอร์ดเท่านั้น
โดยระบบดังกล่าวจะถูกแยกออกไปใช้งานอย่างโดดๆ
ไม่เกี่ยวข้องหรือต้องใช้ข้อมูลร่วมกับระบบอื่นๆ
ทั้งนี้ก็เพื่อจุดประสงค์ในเรื่องของความปลอดภัยนั่นเอง
ในขณะที่ระบบเปิดจะมีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน ตัวอย่างเช่น
ระบบบัญชี ที่ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ เช่น ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบบัญชีแยกประเภท
และระบบบัญชีลูกหนี้ เป็นต้น ครั้นเมื่อระบบย่อยทั้งสามเหล่านี้
ได้ทำงานร่วมกันก็จะได้ภาพใหญ่คือ ระบบบัญชีขององค์กร ที่สามารถแสดงรายงานงบดุล
หรืองบกำไรขาดทุนของบริษัทได้ ดังนั้น ระบบธุรกิจจึงเป็นระบบเปิด
ที่จำเป็นต้องได้รับการโต้ตอบเพื่อการสื่อสารกับระบบอื่นๆ เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรตามภาคธุรกิจในยุคปัจจุบัน
นอกจากจะมีการสื่อสารระหว่างระบบภายในแล้ว ยังมีการเชื่อมโยงสื่อสารออกไปยังภายนอก
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนเทคโนโลยีของเว็บเบส เพื่อสื่อสารกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ
ผู้ขายปัจจัยการผลิต และลูกค้า เป็นต้น
และจากแนวคิดของระบบนี้เอง
ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการเพิ่มส่วนประกอบย่อยเข้าไปอีก 2 ส่วนด้วยกันคือ (1) ผลป้อนกลับ และ (2) การควบคุม โดยระบบที่มีหน้าที่ทั้งในส่วนผลป้อนกลับและการควบคุมนี้
บางครั้งเรียกว่า ระบบไซเบอร์เนติก(Cybernetic System) ซึ่งเป็นระบบที่สามารถเฝ้าสังเกตการณ์และจัดระเบียบตัวเองได้
(Self – Monitoring and Self – Regulating System) ตัวอย่างเช่น
ระบบควบคุมอุณหภูมิห้อง
ที่จะนำระดับอุณหภูมิจากสภาพอากาศเป็นผลป้อนกลับส่งไปยังอุปกรณ์เทอร์โมสตัต เพื่อควบคุมการปิด / เปิดวาวล์
ในการรักษาระดับอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ระบบควบคุมอุณหภูมิ จัดเป็นระบบไซเบอร์เนติกชนิดหนึ่ง ที่จะนำระดับอุณหภูมิ
เป็นผลป้อนกลับเพื่อควบคุมระดับอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สำหรับรายละเอียดของผลป้อนกลับ และการควบคุม
สามารถอธิบายได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้
- ผลป้อนกลับ (Feedback) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของระบบ
ตัวอย่างเช่น
ข้อมูลดำเนินการเกี่ยวกับงานขายจะส่งผลป้อนกลับไปยังผู้จัดการฝ่ายขาย
หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับความเร็วระดับความสูง สภาพอากาศ
จะส่งตรงถึงอากาศยาน ที่ส่งผลป้อนกลับไปยังนักบิน เป็นต้น
-
การควบคุม (Control) จะเกี่ยวข้องกับการเฝ้าสังเกตการณ์และประเมินผลป้อนกลับ
เพื่อตัดสินใจว่าระบบจะต้องขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร
หน้าที่การควบคุมจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปรับปรุงและจัดระเบียบความเรียบร้อยให้กับระบบทั้งในส่วนของการนำเข้า
และการประมวลผลเพื่อไปสู่การสร้างผลลัพธ์ในที่สุด ตัวอย่างเช่น
ผู้จัดการฝ่ายขายได้เข้ามาควบคุมพนักงานขายรายใหม่ภายในเขตพื้นที่
ภายหลังจากได้รับผลป้อนกลับในเรื่องของผลการปฏิบัติงานขายที่ผ่านมา
หรือนักบินได้ใช้เวลา ณ นาทีนั้นในการปรับอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อควบคุมการบินให้เป็นไปตามปกติ
ภายหลังจากผลป้อนกลับของระบบได้แจ้งเตือนให้ทราบถึงสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น