6.2 คุณสมบัติ8 ประการของเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ช
จากธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่นับวันมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
หลายคนคงอยากทราบว่าเป็นเพราะสาเหตุใด
คำตอบที่ได้
สามารถพิจารณาจากคุณสมบัติของเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ชทั้ง 8 ประการ ที่จะกล่าวต่อไปนี้
1. การมีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง (Ubiquity)
การค้าในรูปแบบเดิม
ผู้บริโภคจะต้องเดินทางมายังร้านค้าหรือตลาดนัด ที่เป็นแหล่งรวมของสินค้าต่างๆ
เพื่อเลือกซื้อสินค้า ตัวอย่างเช่น หากต้องการซื้อแอลซีดีทวี
ก็จะต้องไปยังร้านขายทีวีโดยตรง และจะต้องเลือกไปในเวลาที่ร้านยังเปิดทำการอยู่
ในทางตรงกันข้าม หากเป็นอีคอมเมิร์ชแล้ว ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ตนต้องการได้ทั่วทุกแห่ง ทุกเวลา
โดยไม่ต้องเดินทางมายังสถานที่ของร้านค้าจริงๆผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าในขณะที่ตนอยู่บ้านด้วยการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป
หรือขณะที่อยู่ในรถก็สามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ
M – Commerce ก็ได้
และการที่ผู้บริโภคสามารถดำเนินธุรกรรมได้ทุกที่
ทุกเวลา ทำให้ไม่เสียเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
และลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง
2. ขอบเขตครอบคลุมทั่วโลก (Global Reach)
เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ช
อนุญาตให้ดำเนินธุรกรรมทางการค้าอย่างปราศจากพรมแดน
ดังนั้นระยะทางที่ห่างไกลกันข้ามทวีป ก็มิใช่อุปสรรคขวางกั้นอีกต่อไป
ส่งผลต่อการปฏิวัติรุปแบบการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ต้องถูกจำกัดขอบเขต
มาเป็นรูปแบบที่เรียกว่า “ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์” ที่สามารถขยายตลาดธุรกิจออกไปสู่ตลาดโลกได้โดยไม่ยาก
ก่อให้เกิดลูกค้าตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังลงทุนต่ำมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดระหว่างประเทศด้วยวิธีเดิมๆ
3. มาตรฐานระดับสากล (Universal Standards)
เนื่องจากเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ช
ใช้ระบบสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างหลัก ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบเปิด
มีความยืดหยุ่นสูง ส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีแพล็ตฟอร์มแตกต่างกัน
สามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้โดยปราศจากปัญหาใดๆ โดยจะมีโปรโตคอลมาตรฐานอย่าง TCP/IP
ซึ่งเป็นกลุ่มของกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้เป็นข้อตกลงด้านการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างกัน
4. ความสมบูรณ์ในข่าวสาร (Richness)
ความสมบูรณ์ของสารสนเทศจะอ้างถึงความซับซ้อนทางด้านเนื้อหาของข่าวสาร
โดยข่าวสารที่ส่งผ่านสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น
สามารถถูกจัดทำขึ้นได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นข้อความ เสียง
และวิดีโอ
ที่ถูกนำมาประสมรวมกันเป็นเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
และนำมาเสนอผ่านเว็บที่มีลูกค้าจำนวนมากเข้าถึง
โดยไม่จำเป็นต้องนำเสนอต่อหน้าลูกค้าอย่างเช่นแต่ก่อน
5. การโต้ตอบระหว่างกัน (Interactivity)
เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ช
เป็นระบบที่อนุญาตให้ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถติดต่อสื่อสารกันได้แบบสองทาง (Two – Way Communication) ตัวอย่างเช่น การโฆษณาขายสินค้าผ่านทางวิทยุหรือโทรทัศน์
จะเป็นแบบทิศทางเดียว ที่ผู้ขายและผู้ซื้อจะไม่สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง
(นอกจากจะใช้การติดต่อผ่านโทรศัพท์ ซึ่งหากเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ
ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง)
แต่หากเป็นระบบอีคอมเมิร์ช
จะมีการใช้เว็บไซต์เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
ไม่ว่าจะเป็นช่องทางของกระดานสนทนา
อีเมล และการแชท เป็นต้น
6. ความหนาแน่นของสารสนเทศ (Information Density)
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บ
ส่งผลต่อการเพิ่มความหนาแน่นทางสารสนเทศได้อย่างมากมาย
ความสามารถในการเผยแพร่ข่าวสาร
ให้กระจายไปทั่วทุกมุมโลกด้วยความรวดเร็วบนต้นทุนที่ต่ำ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลทางสารสนเทศที่มีอยู่จำนวนมหาศาล
แล้วก็มีจำนวนไม่น้อยที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง
สำหรับความหนาแน่นของสารสนเทศในตลาดอีคอมเมิร์ชในเรื่องของราคาและต้นทุนสินค้า จะมองในรูปแบบที่เรียกว่าทะลุผ่าน (Price/Cost Transparent) กล่าวคือ ผู้บริโภคสามารถค้นหาเพื่อเปรียบเทียบราคาขายของสินค้าในตลาดได้อย่างง่ายดาย
ในขณะเดียวกันผู้บริโภคบางคนก็พยายามท่องเว็บเพื่อค้นหาต้นทุนสินค้าที่แท้จริงจากผู้ขายรายต่างๆแต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ขายเช่นกัน
ที่ผู้ขายอาจหันมาใช้กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าเดียวกันนี้ให้แตกต่างกันตามกลุ่มลูกค้า
(PriceDiscrimination) ตัวอย่างเช่น
สินค้าเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ตราสินค้าแตกต่างกัน ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันตามตราสินค้าหรือแต่ละยี่ห้อ ที่เป็นไปตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
แต่แท้จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสินค้าแตกต่างกันเหล่านี้ ล้วนมาจากโรงงานผลิตเดียวกันทั้งสิ้น
7. ความเป็นเฉพาะตัวและการปรับแต่งให้เหมาะสมกับบุคคล (Personalization /
Customization)
ผู้ประกอบการสามารถใช้เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ชในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดเฉพาะบุคคลได้ ด้วยการนำข้อมูลส่วนตัวที่ได้จากโปรไฟล์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ความสนใจ
ความชอบ รสนิยม งานอดิเรก
และพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ผ่านมา
จากนั้นก็นำมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้า
ซึ่งจะถูกปรับให้เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละบุคคล บนพื้นฐานข้อมูลส่วนตัวที่มีความเป็นเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย
8. เทคโนโลยีทางสังคม (Social Technology)
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ช
ก่อให้เกิดกลุ่มสังคมชุมชนออนไลน์ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
โดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถสร้างและแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ให้แก่เพื่อนๆ
ที่อยู่ในชุมชนออนไลน์เดียวกันบนเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บแห่งนี้
ผ่านหัวเรื่องสำคัญต่างๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความวิดีโอ เพลง หรือรูปภาพ
ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้สนับสนุนเครือข่ายทางสังคมแห่งโลกไซเบอร์ใบนี้ได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น