วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 6 เรื่องที่ 3 มิติของอีคอมเมิร์ช

6.3  มิติของอีคอมเมิร์ช
                รูปแบบการดำเนินงานของอีคอมเมิร์ชมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน  ซึ่งอาจเป็นอีคอมเมิร์ชแบบทั้งหมดหรือแบบบางส่วนก็ได้  ขึ้นอยู่กับความเป็นดิจิตอลมากน้อยเพียงไร  ที่ได้แปลงสิ่งที่มีอยู่จริง  ในเชิงกายภาพมาเป็นดิจิตอล  อันประกอบด้วย
                1.  ผลิตภัณฑ์  (สินค้าหรือบริการที่จำหน่าย)
                2.  กระบวนการ
                3.  ตัวแทนในการส่งมอบ  (ตัวกลางในการสื่อสาร)
                ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายสามารถเป็นไปได้ทั้งเชิงกายภาพและดิจิตอล กระบวนการก็สามารถเป็นได้ทั้งเชิงกายภาพและดิจิตอล  ขณะเดียวกันตัวแทนในการส่งมอบก็สามารถเป็นได้ทั้งเชิงกายภาพและดิจิตอล
                6.3.1  บริกแอนด์มอร์ตาร์(Brick – and – Mortar)
                จัดเป็นรูปแบบการดำเนินงานทางธุรกิจแบบดั้งเดิม (Purely Physical) ดังนั้นมิติทั้งสามไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และตัวแทนในการส่งมอบสินค้า ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกดำเนินการหรือพบปะกันจริงๆ ตามโครงสร้างเชิงกายภาพทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ร้านค้าสะดวกซื้อที่เปิดบริการทั่วไป เมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้า ก็จะต้องเดินทางมาที่ร้าน จากนั้นก็เลือกซื้อสินค้าและชำระเงินที่นั่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า Brick – and – Mortar เป็นการดำเนินธุรกิจแบบออฟไลน์ ที่มิได้ซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม หากธุรกิจที่ดำเนินอยู่เดิมนี้ได้เพิ่มช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บ ก็จะเปลี่ยนรูปไปเป็น  Click and – Mortar  ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ร้านสะดวกซื้อทั่วไป ที่มีแหล่งที่ตั้ง และผู้ซื้อต้องเดินทางมาซื้อหรือบริการ
ด้วยตัวเอง จัดเป็นรูปแบบธุรกิจที่เรียกว่า Brick-and-Morter
                6.3.2  คลิกแอนด์มอร์ตาร์(Click and – Mortar)
                เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบผสมผสาน กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และตัวแทนการส่งมอบ จะมีทั้งโครงสร้างเชิงกายภาพและดิจิตอลรวมเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ร้านขายหนังสือของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์จะมีหน้าร้านที่เปิดดำเนินงานจริงๆ ในขณะเดียวกันก็ได้เปิดเว็บไซต์ www.se-ed.com เพิ่มอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการบริการออนไลน์เข้าไปด้วย ดังนั้นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ Click – and – Mortar จึงสามารถรองรับลูกค้าได้มากกว่าหนึ่งช่องทางด้วยกัน กล่าวคือ ลูกค้าสามารถเข้ามาชมหนังสือและซื้อหนังสือที่ร้านด้วยตนเอง หรือจะสั่งซื้อหนังสือผ่านเว็บไซต์ และให้จัดส่งสินค้าในรูปแบบพัสดุไปรษณีย์ถึงผู้รับได้ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถสั่งจองหนังสือผ่านเว็บแล้วมารับสินค้าที่ร้านเอง เป็นต้น ส่วนการชำระเงิน กรณีสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บ ก็อาจเลือกเข้าบัญชีธนาคารก็แล้วแต่สะดวก ดังนั้นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ Click – and – Mortar จึงเป็นการผสมผสานระหว่างการค้าแบบออฟไลน์ (กายภาพ) และแบบออนไลน์ (ดิจิตอล) ได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เนื่องจากเป็นการขยายธุรกิจจากเดิมที่มีการดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว ด้วยการเสริมในส่วนการบริการออนไลน์เพิ่มเข้าไป เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการขายสินค้าหรือการบริการให้สูงยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ร้านซีเอ็ดบุ้คเซนเตอร์ ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Click-and-Morter โดยลูกค้าสามารถ
ซื้อหนังสือจากร้านค้าตามสาขาต่างๆ หรืออาจสั่งซื้อออนไลน์ผ่านเว็บก็ได้
                6.3.3  คลิกแอนด์คลิก(Click – and – Click)
                เป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบดิจิตอลหรือแบบออนไลน์ล้วนๆ หรือที่เรียกว่า Pure – Play ซึ่งไม่มีร้านค้าที่ตั้งอยู่จริง ดังนั้นเมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้าก็จะต้องดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์เพียงช่องทางเดียว  จากนั้นทางเว็บก็จะส่งสินค้าถึงผู้รับ  ตัวอย่างธุรกิจที่ดำเนินการในรูปแบบนี้  เช่น  amazon.com 

                จากการดำเนินธุรกิจในรูปแบบทั้งสามที่กล่าวมาข้างต้น หากมีอย่างน้อยหนึ่งมิติที่ดำเนินงานแบบดิจิตอล ก็จะถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ชแบบบางส่วน (Partial e – Commerce) ตัวอย่างเช่น การสั่งซื้อหนังสือจากเว็บ  amazon.com  จะถือว่าเป็น  Partial e – Commerce เพราะว่าสินค้าถูกมอบหมายให้ FedEx ซึ่งเป็นตัวแทนในการส่งมอบสินค้าถึงมือผู้รับ กล่าวคือยังใช้วิธีส่งมอบสินค้าที่ยังคงใช้โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Agents) แฝงอยู่นั่นเอง ในขณะเดียวกันหากเป็นการสั่งซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – Book) จากเว็บ amazon.com  หรือผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จาก buy.com สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ชแบบแท้จริง  (Pure e – Commerce) เพราะไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการส่งมอบ ล้วนอยู่ในรูปแบบของดิจิตอลทั้งสิ้น ผ่านการโอนถ่ายแบบออนไลน์ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อมิให้เกิดความสับสน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น