3.3 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบและการทำงานพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันประกอบด้วย
อุปกรณ์รับข้อมูล ซีพียู หน่วยความจำภายใน สื่อจัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผล
ซึ่งแสดงไว้ดังรูป
ซึ่งสามารถอธิบายโดยคร่าวๆ
ได้ดังต่อไปนี้
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ล้วนมีส่วนประกอบพื้นฐานที่เหมือนๆกัน
1. อุปกรณ์รับข้อมูล
(Input Devices)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้รับข้อมูลจากภายนอก
และถ่ายโอนไปสู่ตัวคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นำเข้าโดยทั่วไป
ส่วนใหญ่มักหมายถึงคีย์บอร์ด และเมาส์
นอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดเสียง ภาพ
หรือสัญญาณอื่นๆ
2. หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU)
ซีพียู
จัดเป็นส่วนสำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ การประมวลผลของซีพียู
จะรวบรวมชุดคำสั่งและข้อมูลเข้ามา จากนั้นก็นำมาแปลและเอ็กซีคิวต์ชุดคำสั่ง
สำหรับความหมายในเชิงเทคนิคแล้ว ซีพียูก็คือชิป
ซึ่งเป็นแผงวงจรที่บรรจุไปด้วยทรานซิสเตอร์ (Transistors) จำนวนนับล้านตัว
และด้วยเทคโนโลยีสูงในการผลิตชิปในปัจจุบัน จำนวนทรานซิสเตอร์ที่เพิ่มขึ้น
ไม่ได้ส่งผลต่อขนาดของตัวชิปเลย แต่ขนาดของชิปกลับมาขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ
ซึ่งนอกจากจะประมวลผลด้วยความเร็วสูงแล้ว
ยังใช้พลังงานต่ำ และสำหรับคอมพิวเตอร์บางรุ่น บางประเภท
ยังสามารถบรรจุซีพียูได้มากกว่าหนึ่งตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประมวลผล
ซีพียูรุ่น Core 2 Duo และภาพภายในตัวซีพียูที่ภายในชิปบรรจุทรานซิสเตอร์จำนวนกว่า 253 ล้านตัว
3. หน่วยความจำภายใน
(Internal Memory)
หน่วยความจำภายในหรือหน่วยความจำหลัก
(Primary Memory) จะถูกวางตำแหน่งไว้ใกล้ๆ กับตัวซีพียู
เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บทั้งข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ชั่วคราว รวมถึงใช้เป็นเนื้อที่ในการประมวลผลชุดคำสั่ง
โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมจะถูกนำเข้ามาและทำงานอยู่ในหน่วยความจำหลักนี้
สำหรับหน้าที่ของหน่วยความจำหลักก็คือ การจัดเก็บชุดคำสั่ง การจัดเก็บข้อมูลเพื่อรอส่งให้ซีพียูประมวลผล
และการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล เพื่อเตรียมส่งไปยังเอาต์พุตตามที่ต้องการ
แผงหน่วยความจำแรม
ประเภทหน่วยความจำที่นำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์นั้น
สามารถแบ่งเป็น2 ประเภทด้วยกัน
สำหรับประเภทแรกที่จะกล่าวต่อไปนี้ หน่วยความจำแรม (Random Access Memory :
RAM) ที่นิยมนำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์
เนื่องจากมีความจุสูง และทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถเขียนทับหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
แต่หน่วยความจำแรมจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยง (Volatile)
ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายในก็จะสูญหายไปทั้งหมด
ซึ่งหากต้องการจัดเก็บข้อมูล ก็จะต้องบันทึกลงในหน่วยความจำสำรองต่างๆ
ส่วนหน่วยความจำประเภทที่สองคือ หน่วยความจำรอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำที่บรรจุชุดคำสั่งหรือโปรแกรมไว้อย่างถาวร
โดยข้อมูลจะยังคงอยู่ แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงก็ตาม (Non–Volatile) แต่จะนำมาใช้เพื่ออ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
ไม่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำหรือเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น รอมไบออส (ROM–BIOS) ที่พีซีคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี โดยภายในรอมไบออสจะบรรจุโปรแกรมเล็กๆ
ที่ใช้สำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ และจะถูกเรียกใช้งานทุกครั้งเมื่อมีการบูตเครื่อง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหน่วยความจำรอมจะบรรจุข้อมูลหรือโปรแกรมมาจากโรงงานซึ่งผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในได้ก็ตามแต่ก็มีหน่วยความจำรอมอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อีอีพรอม
(Electrically
Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ที่สามารถลบโปรแกรมที่บรรจุอยู่ภายในออกไปทั้งหมด
แล้วเขียนทับด้วยข้อมูลใหม่ ตัวอย่างเช่น รอมไบออสยุคใหม่ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นหน่วยความจำรอมแบบ EEPROM
ทั้งสิ้น ที่มีคุณสมบัติพิเศษ๕อ
สามารถทำการแฟลชไบออสเพื่ออัปเกรดโปรแกรมภายใน
ให้สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ
ได้ โดยผู้ใช้สามารถทำได้เองผ่านโปรแกรมอัปเดตไบออส
(จำเป็นต้องศึกษาจากคู่มือใช้งานให้ละเอียดก่อนลงมือปฏิบัติจริง)
4. สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage)
สื่อจัดเก็บข้อมูล
ก็คืออุปกรณ์สำรองข้อมูล (Secondary Storage) นั่นเอง
วัตถุประสงค์ก็เพื่อจัดเก็บข้อมูลไว้สำหรับประมวลผลในภายภาคหน้า
หรือเพื่อสำรองข้อมูลเก็บไว้ ตัวอย่างเช่น ดิสเกตต์ ฮาร์ดดิสก์ เทป
แผ่นซีดี / ดีวีดี
และแฟลชไดรฟ์ เป็นต้น
สำหรับภายในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลต่างๆ จะมีหน่วยวัดความจุต่างๆ ดังต่อไปนี้
หน่วยวัดความจุข้อมูล (ค่าเต็มของ 1 KB = 1,024 ไบต์)
5. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อแสดงผลลัพธ์หรือสารสสนเทศ
ซึ่งปกติอุปกรณ์แสดงผลมักหมายถึงจอภาพและเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้
ก็ยังมีอุปกรณ์อย่างลำโพง ที่แสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปของเสียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น